|
การเข้าเล่ม
ลูกค้าหลายราย ยังไม่ค่อยรู้จักวิธีการเข้าเล่มกันนัก เราจึงเริ่มต้น page การทำหนังสือ ด้วยการแนะนำวิธีเข้าเล่มแบบต่าง ๆ ค่ะ
|
|
1.การเข้าเล่มแบบเย็บอก หรือเย็บมุงหลังคา
เป็นการเข้าเล่มที่ง่ายที่สุด คือพับครึ่งแล้วเย็บแม็กซ์ (Staple) เข้าที่กลางกระดาษ 2-3 อัน เหมาะกับหนังสือหนาไม่เกิน 25 แผ่น
ข้อดี ของการเย็บแบบนี้ คือรวดเร็ว ต้นทุนต่ำ และกางหนังสือออกได้มากที่สุด เหมาะกับการทำสมุด ที่ต้องการเขียนได้ทั่วหน้ากระดาษ
ข้อเสีย ไม่สวย กระดาษแผ่นกลางมีโอกาสยื่น เลยกระดาษแผ่นอื่นออกมา Staple ที่พับไม่ดีอาจเป็นอันตรายเวลาเขียนได้
|
|
2. เข้าเล่มกาวหัว
เหมาะกับการทำกระดาษโน้ต memo ใบเสร็จ หรือกระดาษสมุดรายงาน ใบ order ร้านอาหาร ก็ใช้วิธีนี้ ที่ไม่ต้องการให้่มีรอยฉีกน่าเกลียด เพราะหลุดง่ายมาก แะเพราะมีกาวที่สันด้านบนจึงถูกเรียกว่า "เข้าเล่มกาวหัว" |
|
3. เข้าเล่มแบบไสกาว(ไสสันทากาว)
หนังสือเรียน นิตยสาร พ็อคเก็ตบุคส์ นิยมเข้าแบบนี้ เพราะการผลิตหนังสือจำนวนมาก ในระดับโรงพิมพ์ ราคาจะไม่แพง เพราะมีเครื่องเข้าเล่มสันกาว ร้อนที่เข้าได้นาทีละหลายเล่ม
ข้อดี สวยงาม จัดเก็บง่าย ต้นทุนต่ำเข้าได้ไม่ว่าเล่มหนาหรือบาง เหมาะกับการผลิตจำนวนมาก
ข้อเสีย ไม่ค่อยทนทาน โดยเฉพาะ หากกระดาษแกรมสูง หนามาก ๆ เช่นวารสารที่มีหน้าสีมาก จะยิ่งหลุดง่าย
วิธีเข้าเล่มแบบไสกาว นี้จะทำได้ต้องใช้เครื่องเข้าเล่มราคาแพง ที่สามารถไสกาวตรงสันให้เป็นขุย ก่อนลงกาวที่ละลาย เพื่อให้กาวซึมได้ทั่วสันหนังสือ เพิ่มความคงทน |
|
4. เข้าเล่มแบบสันกาว (เหมือนหนังสือ)
คล้ายไสกาว เพียงแต่ไม่มีการไส คงเหลือแต่ใส่กาวที่สัน
ร้านถ่ายเอกสารที่มีระดับขึ้นอีกนิด หรือมั่นใจในฝีมือหน่อย มักเข้าเล่มด้วยวิธีนี้ เพราะใช้ฝีมือ มากกว่า ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องไสกาวราคาแพง
ข้อดี จัดเก็บบนชั้นหนังสือง่าย สวยงาม(แล้วแต่ร้าน) คงทนกว่าไสกาว เพราะมีการเย็บลวดเสร็มที่สันด้วย จึงไม่ต้องกังวลว่าเนื้อหาจะหลุดง่าย ๆ
ข้อเสีย มีการเย็บที่สัน ถ้าตัวหนังสือที่อยู่ใกล้สันด้านใน อาจอ่านยาก และเพราะเป็นงานฝีมือมีหลายขั้นตอนกว่า ราคาจึงสูงตาม ยิ่งเล่มหนา ๆ ราคายิ่งสูง บางร้านไม่สามารถเข้าเล่มที่หนาเกิน 200 หน้าได้ เพราะไม่มีอุปกรณ์และคุณภาพงานอาจไม่นิ่ง เหมือนเข้าเล่มด้วยเครื่องไสกาว |
|
5. กระดูกงู
เป็นการเข้าเล่มที่ไม่ต้องใช้ฝีมือมากเหมือนสันกาว เพียงมีเครื่องเจาะกระดาษสำหรับใส่กระดูกงู มักพบเห็นในร้านเอกสารที่เปิดใหม่ หรือออฟฟิศที่ไม่มีบุคลากร ที่ชำนาญในการเข้าเล่มแบบอื่น ๆ
ข้อดี เปิดกางไดถึง 360 ํ เหมาะกับโต๊ะแล็คเชอร์แคบ ๆ ไม่ต้องกังวลเรื่องตัวหนังสือตรงสันอ่านไม่เห็น เหมาะสำหรับเข้าเล่มเพื่อเก็บสะสมแล็คเชอร์ Sheet เก่า ๆ หรือรายงานที่มีการเขียนชิดขอบกระดาษมาก ที่สำคัญแก้ไขสอดแทรกเนื้อหาได้ง่าย
ข้อเสีย บางคนอาจมองว่าไม่เรียบร้อย พกใส่กระเป๋ายาก นานไปกระดูกงูที่เป็นพลาสติกมีโอกาสแตกสูง การใส่กระดูกงูมักคู่ก้ับแผ่นใสทั้งปกหน้าและหลัง |
|
6.เข้าเล่มแบบเย็บกี่
ถือเป็นการเข้าเล่มที่ดีที่สุด เพราะความคงทนพอ ๆ กับเล่มสันกาวเย็บลวด แต่เหนือกว่าตรงที่สมารถกางหน้า หนังสืออกได้สุด นิยมใชในหนังสือเล่มหนา ราคาสูง เช่น Dictionary พจนานุกรม สารานุกรม วิธีการค่อนข้างยุ่งยากหน่อย โดยจะนำเอาหลาย ๆ หน้ามาแยกเป็นส่วน ๆ เย็บด้วยดาย แล้วจึงร้อยเย็บรวมกันอีกทีหนึ่ง ก่อนจะประกบเป็นเล่ม การเย็บกี่ยังแบ่งย่อยเป็นอีก 3 แบบ ดังในรูป
นอกจากนี้ยังมีการเข้าเล่มแบบสันรูด, เทปกาว หรือแล็คซีน ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีอยู่แล้ว เพราะมีมานาน ร้านถ่ายเอกสารร้านเล็กร้านน้อยแทบทุกร้านทำกันเป็นอยู่แล้ว เพราะไม่ต้องใช้เครื่องไม้เครื่องมือ หรือความชำนาญอะไรมากมาย |